วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 4 ผลการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เมืองจำลองพาทัวร์

บทที่ 4

ผลการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เมืองจำลองพาทัวร์

ผลการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีป่าชายเลนร่วมสมัย ได้แก่

1. สัญลักษณ์ของศูนย์


ความหมายของสัญลักษณ์
                - เงาตึกเปรียบเสมือนสถานที่ต่างๆที่จำลองขึ้นมา
                - TOUR เปรียบเสมือนการท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ

2. ลักษณะแผนผังศูนย์ภายในศูนย์ ห้องต่าง ๆ



ภาพตัวอาคารของศูนย์


3. วิสัยทัศน์และนโยบาย
                วิสัยทัศน์  สร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ  ทั้งในประเทศและนานาชาติ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
                นโยบาย
1. ดำเนินการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยการจำลองสถานที่ต่าง ๆ ทั้งประเทศไทยและนานชาติ เพื่อให้ได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ อย่างเข้าใจมากขึ้น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของประชาชน ให้มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และสิ่งสวยงามของสถานที่ต่าง ๆ

4. 2 D Barcode

Blogger แนะนำศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์

QR CODE
http://sixhomework.blogspot.com/


วีดิทัศน์แนะนำศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์

QR CODE
http://www.youtube.com/watch?v=qqAXfdwQVbY&feature=youtu.be

5. แผนผังโครงการศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์





6.หน้าที่รับผิดชอบโดยใส่ชื่อนิสิตเป็นตำแหน่งต่าง ๆ
นายชุน                                  คำเครื่อง                                ประธานโครงการ
นางสาวชลธิชา                    พลายงาม                              รองประธานโครงการ
นายทัชณรงค์                       กลิ่นดี                                     ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นายณฐกร                             หาญประสิทธิ์                      ฝ่ายเลขานุการ
นางสาวธาดารัตน์              สาคร                                     ฝ่ายงานธุรการ
นายธีรศักดิ์                           โชติวัฒนานุกูล                    ฝ่ายสื่อโสตทัศนูปกรณ์








วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์

1. วิธีการดำเนินการ

                วิธีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์ ได้แก่แผนผังการดำเนินโครงการ


สัปดาห์แรก ตั้งแต่วันที่ 23-26 ธ.ค. 56
                ประธานโครงการและหัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายประชุมหารือ เรื่อง ศูนย์การเรียนรู้ในฝัน ซึ่งมีการหาข้อตกลงกันในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในประเภทใด ตั้งจัดมามีประโยชน์อย่างไร มีความต้องการของนักท่องเที่ยวมากน้อยอย่างไร สรุปได้ว่า มีการจัดทำโครงการศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์  ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทย และสถานที่สำคัญๆของต่างประเทศ
                เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วจึงได้จัดทำร่างโครงการขึ้นมา เพื่อเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาต่อไป
สัปดาห์ที่สอง ตั้งแต่วันที่ 2-5 ม.ค. 57
                เขียนรายเอียดโครงการจัดตั้งศูนย์เมืองจำลองพาทัวร์เพื่อเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ในการอนุมัติการดำเนินงานขั้นต่อไป


สัปดาห์ที่สาม ตั้งแต่วันที่ 8-12 ม.ค. 57
               ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากสถานที่จริง รวบรวมข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการรวบรวมไว้ในการเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์
สัปดาห์ที่สี่ ตั้งแต่วันที่ 14-18 ม.ค. 57
                ดำเนินการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ในฝันเสมือนจริงตามที่ได้ร่างโครงการเอาไว้ โดยติดต่อขอใช้สถานที่ตั้งบริเวณ 387 หมู่ 6 ถนนสุขุมวิท เมืองพัทยา ตำบล นาเกลือ อำเภอ บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
สัปดาห์ที่ห้า ตั้งแต่วันที่ 23-26 ม.ค. 57
                นำศูนย์การเรียนรู้ในฝันเสมือนจริง มาเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์ โดยใช้ BLOG ในการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้ในฝัน
สัปดาห์ที่หก ตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. – 1 ก.พ. 57
               ประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้ในฝัน มีการอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ที่เข้าเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
สัปดาห์ที่เจ็ด ตั้งแต่วันที่ 13-16 ก.พ. 57
                รายงานการดำเนินงานและประเมินผลศูนย์การเรียนรู้ในฝัน

2ปัญหาในการดำเนินงาน

                ปัญหาที่พบคือ ระยะเวลาในการศึกษาข้อมูลและความทันสมัยของข้อมูล บางสถานที่ที่เข้าไปศึกษาไม่ได้มีการอัพเดทข้อมูล บางครั้งการเก็บข้อมูลยังได้รายละเอียดที่ไม่ครบถ้วนจึงต้องมีการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและงบประมาณ

                งบประมาณปี ๒๕๕๗แผนงานสนับสนุนการจัดการศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์เป็นเงินจำนวน  20,500 บาท ( สองหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน ) รายละเอียดดังนี้
                1. ค่าวิทยากร                                               เป็นเงิน                    5,000      บาท
                2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม                                 เป็นเงิน                      8,500    บาท      
                3. ค่าบำรุงสถานที่                                              เป็นเงิน                      5,000      บาท
                4. ค่าเดินทาง                                                        เป็นเงิน                    2,000       บาท
                5. ค่าเข้าชมการแสดง                                         เป็นเงิน                      1,800       บาท
                                                                                               รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   21,300     บาท
(สองหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน)
                หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยทุกรายการ

4.  ปัญหาในการดำเนินงาน

                4.1. การเก็บข้อมูลขาดตกบกพร่อง
                4.2. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล

                4.3. การเดินทาง

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดตั้ง : ศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดตั้ง : ศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์
1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองมินิสยาม
                ตั้งอยู่ที่ 387 หมู่ 6 ถนนสุขุมวิท เมืองพัทยา ตำบล นาเกลือ อำเภอ บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 เมืองจำลองสยาม เริ่มต้นโครงการด้วยการค้นคว้าข้อมูล และเริ่มก่อสร้าง โดยแบ่งเป็น เมืองจำลองสยาม และเมืองจำลองยุโรป พื้นที่ส่วนอื่นได้จัดสรรเป็นโถงขายบัตรเข้าชม พื้นที่เช่าสำหรับร้านขายของที่ระลึก และที่จอดรถ  อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นแบบจำลองชิ้นแรก
       สยามเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายาวนานตามที่ได้มีบันทึกถึงความรุ่งเรืองทางด้าน พระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี  ดังปรากฏให้เห็นผ่านทางสถาปัตยกรรมและซากโบราณสถานต่าง ๆ ที่ได้ถูกค้นพบในภายหลังตามช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรในสมัยต่าง ๆ
                ในปัจจุบัน โบราณสถานและโบราณวัตถุของอาณาจักรต่าง ๆ ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นเอกราชของไทย  แต่ยิ่งเวลาผ่านไป โบราณสถานเหล่านั้นมีแต่จะยิ่งทรุดโทรมลง การไปเยี่ยมชมสถานที่เหล่านั้นซึ่งกระจายกันอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาเดินทางเป็นอันมาก  เมืองจำลองสยามจึงได้รวบรวมสถานที่สำคัญเหล่านั้น นำมาย่อส่วนให้เป็นแบบจำลองให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ด้านวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลังได้มีไว้ค้นคว้าและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในการทำนุบำรุงรักษาสิ่งเหล่านั้นไว้สืบไป 
                ซึ่งโอกาสที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะสามารถไปเที่ยวชมในทุกสถานที่นั้นมีน้อยมากแต่ถ้าเรา สามารถรวบรวมสถานที่สำคัญ ๆ เหล่านี้มาจำลองรวมไว้ใน ที่เดียวกัน โดยยังคงรักษารายละเอียดไว้ได้เหมือน สถานที่จริง คงจะทำให้นักท่องเที่ยวรวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่ได้เข้าไปสัมผัส ได้รับรู้คุณค่า และความสวยงาม ของสถาปัตยกรรมไทยได้มากขึ้น หลังจากที่เกิดแนวคิดนี้ มีการเดินทางไปสำรวจและศึกษาสถานที่ สำคัญต่าง ๆ เพื่อศึกษา และรวบรวมงานศิลปกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ที่มีความโดดเด่น เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมา ถ่ายทอดผ่านผลงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวคิดที่ได้ตั้งใจไว้ จนกระทั่งเมืองจำลองเกิด ขึ้นภายใต้แนวคิดดังกล่าวที่ต้องการให้เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
2. จุดเด่นหรือสิ่งที่น่าสนใจ
                ศูนย์เมืองจำลองมินิสยามมีการจำลองสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของทั้งประเทศไทยและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆรอบโลกในเวลาอันรวดเร็วและยังทำให้นักท่องเที่ยวสามารถจินตนาการไปถึงสถานที่จริงๆนั้นได้ ศูนย์เมืองจำลองมินิสยามตั้งอยู่ในพื้นที่กว่า 30 ไร่ จึงทำให้นักเที่ยวสามารถเดินชมสถานที่ต่างๆได้อย่างสะดวก มีการจำลองสถานที่ต่างๆในอัตรา 1 : 25 ทำให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม ถ่ายรูปได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังมีการแสดงเกี่ยวกับนาฏศิลป์ของไทยอีกด้วย
3. ความเหมาะสม
                เหมาะกับทุกเพศ – ทุกวัย
4. กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว
                มีการแสดงนาฏศิลป์ ทุกวัน เวลา 18.00 21.30 น.
5. สถานที่ตั้ง
                387 หมู่ 6 ถนนสุขุมวิท เมืองพัทยา ตำบล นาเกลือ อำเภอ บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
6. วันเวลาทำการ
                - เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-21.00น.
7. อัตราค่าเข้าชม
                - ราคา  (คนไทย) 150   บาท
                - ราคา (ต่างชาติ) 250   บาท
                - เด็กไทย (อายุตั้งแต่ 4 – 10 ปี) 50   บาท
                - เด็กต่างชาติ 120 บาท
                - เด็กความสูงไม่เกิน 120 ซม.ไม่คิดเงิน
8. ติดต่อสอบถาม
               038 727 333 , 038 727 666
9. รายละเอียดเพิ่มเติมที่
                 http://www.minisiam.com
10. การเดินทาง
                เมืองจำลองตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 143 เลยสี่แยก ตลาดนาเกลือ ประมาณ 500 เมตร



วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝันเมืองจำลองพาทัวร์

บทที่ 1

1.  ชื่อโครงการ   :    โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝันเมืองจำลองพาทัวร์
2หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีหลายรูปเเบบ เช่น การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเเละกีฬา หรือการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เป็นรูปเเบบการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ทั้งจากกระเเสความต้องการของนักท่องเที่ยว หรือการถูกจัดให้เป็นกลุ่มสินค้าการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐที่มุ่งรักษาเเละพัฒนาเเหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยจะมีการสนับสนุนการกำหนดจุดขายที่ชัดเจนเเละเชื่อมโยงให้เกิดการเกื้อ หนุนกันภายใต้เเนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการท่องเที่ยวไปยังเเหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เเละสังคม รวมถึงสถานที่ที่มีความผูกพันทางจิตใจของชนรุ่นหลัง เพื่อชื่นชมเเละเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์เเละโบราณสถานในเเหล่งท่องเที่ยวนั้น บนพื้นฐานของความรับผิดชอบเเละมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมเเละคุณ ค่าของสภาพเเวดล้อม โดยที่ชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวนั้น 
รูปเเบบของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เช่น การจัดรายการเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์ ชมซากอารยธรรมโบราณสถานต่างๆ อนุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน สิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าเเละความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นต้น

ดังนั้นจึงได้เกิดแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝันเมืองจำลองพาทัวร์ขึ้น โดยจัดสร้างเป็นแหล่งรวมสถานที่สำคัญต่างๆที่อยู่ภายในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งสร้างขึ้นมาในรูปแบบของสถานที่จำลองขนาดย่อส่วนจากของจริง ทำให้บุคคลที่เข้ามาชมได้ชื่นชมสถานที่สำคัญเหล่านั้นโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่จริงและยังสามารถเรียนรู้ศึกษารายละเอียดของสถานที่ได้จากป้ายนิเทศน์และจัดทำผลิตสื่อนวัตกรรมสำหรับเผยแพร่ความรู้อีกทางหนึ่งอีกด้วย 

3วัตถุประสงค์
1.               เพื่อรวบรวมศิลปไทย เช่น แบบจำลองโบราณสถาน แบบจำลองโบราณวัตถุของสมัยต่างๆ ในระดับสเกล 1 ต่อ 25 ตามรูปแบบที่ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด
2.               เพื่อช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากการเดินทางไปชมยังสถานที่จริง
3.               เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าและทัศนศึกษาวัฒนธรรมไทย
4.               เพื่อให้เป็นศูนย์กลางสำหรับรุ่นใหม่ได้ใช้เป็นที่รำลึกถึงสถานที่สำคัญเหล่านั้น
4.  เป้าหมาย
นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป

5.  วิธีดำเนินการ
                5.1 ติดต่อประสานเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ
                5.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพา
5.3 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์
5.4 ดำเนินงานตามโครงการ
5.5 สรุปผลและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง
6.  สถานที่ดำเนินการ
โครงการจัดตั้ง : ศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์
7.  ระยะเวลาดำเนินการ   
ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
8.  งบประมาณดำเนินการ
                งบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยว         เป็นเงิน 10,000,000.- บาท
หมวดค่าใช้สอย   ประเภทรายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ  เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
                รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  10,000,000.- บาท  (สิบล้านบาทถ้วน)
9.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
                นิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่ม 401 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 42331 Learning Resources Center Management ได้แก่
                1. นางสาวธาดารัตน์       สาคร                                                 54540001
2. นายณฐกร                  หาญประสิทธิ์                                    54540018
3. นางสาวชลธิชา           พลายงาม                                          54540040
4. นายชุน                       คำเครื่อง                                         54540042
5. นายทัชณรงค์              กลิ่นดี                                               54540053
6. นายธีรศักดิ์                 โชติวัฒนานุกูล                                  54540060
10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10.1 เป็นแหล่งการเรียนรู้ให้ประชาชน และนักเรียน นักศึกษา
มีความรู้ ความเข้าใจสถานที่ท่องเที่ยงต่าง ๆ
10.2 ประชาชนสามารถมีความรู้ความสารถในด้านการท่องเที่ยวและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ
10.3 เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของการท่องเที่ยวทุก ๆ ด้าน

11. โครงสร้างองค์การ (ตัวอย่าง) ระบุหน้าที่รับผิดชอบโดยใส่ชื่อนิสิตเป็นตำแหน่งต่าง ๆ
นายชุน                                  คำเครื่อง                                ประธานโครงการ
นางสาวชลธิชา                    พลายงาม                              รองประธานโครงการ
นายทัชณรงค์                       กลิ่นดี                                     ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นายณฐกร                             หาญประสิทธิ์                      ฝ่ายเลขานุการ
นางสาวธาดารัตน์              สาคร                                     ฝ่ายงานธุรการ
นายธีรศักดิ์                           โชติวัฒนานุกูล                    ฝ่ายสื่อโสตทัศนูปกรณ์


12. ภาระหน้าที่ของฝ่ายงานต่าง ๆ ในศูนย์ฯ

                1. ฝ่ายผู้อำนวยการ

                                กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ จุดมุ่งหมาย และภารกิจต่างๆ อย่างครอบคลุม จัดดำเนินงาน จัดบุคลากรให้เหมาะสมกับฝ่ายต่างๆ มีการประสานงาน จัดทำงบประมาณ กำหนดมาตรฐานของงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางเอาไว้ กำหนดฝ่ายที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม

                2. ฝ่ายเลขานุการ

                                มีหน้าที่ในการติดต่อประสานงานในทุกๆฝ่ายเข้าหากัน  มีการจัดเก็บและให้บริการเอกสารต่างๆ โดยมีหน่วยงานภายในที่รับผิดชอบ ดังนี้  
-                   งานบริการส่วนหน้า
                                -      งานเอกสารการประชุม

                3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                                มีหน้าที่บริการและประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ใช้บริการ  โดยมีหน่วยงานภายในที่รับผิดชอบ  ดังนี้
-                   งานประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
-                   งานบริการข้อมูล
-                   งานให้คำแนะนำและรายละเอียด
-                   ติดต่อประสานงาน

4. ฝ่ายธุรการ
                                มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านต่างๆ ในที่นี้ดูแลครอบคลุมงานในส่วน...
                                                - งานธุรการ
                                                - งานดำเนินการจัดซื้อพัสดุ
                                                - งานจัดทำทะเบียนเบิกจ่ายของสำนักงาน
                                                - งานเหรัญญิก
               
5. ฝ่ายสื่อโสตทัศนูปกรณ์
                                มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านต่างๆ ในที่นี้ดูแลครอบคลุมงานในส่วน...
                                                - งานผลิตสื่อ
                                                - งานให้บริการสื่อ
                                                - งานบำรุงรักษาสื่อ

13รายชื่อคณะทำงาน
นายชุน                                  คำเครื่อง                                ประธานโครงการ
นางสาวชลธิชา                    พลายงาม                              รองประธานโครงการ
นายทัชณรงค์                       กลิ่นดี                                     ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นายณฐกร                             หาญประสิทธิ์                      ฝ่ายเลขานุการ
นางสาวธาดารัตน์              สาคร                                     ฝ่ายงานธุรการ
นายธีรศักดิ์                           โชติวัฒนานุกูล                    ฝ่ายสื่อโสตทัศนูปกรณ์

14.  นโยบายหลัก

            14.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยการจำลองสถานที่ต่าง ๆ ทั้งประเทศไทยและนานชาติ เพื่อให้ได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ อย่างเข้าใจมากขึ้น
            14.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของประชาชน ให้มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และสิ่งสวยงามของสถานที่ต่าง ๆ

 15. ปณิธาน
ศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์มุ่งเน้นเรื่องการท่องเที่ยว ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อสร้างรายได้ให้ในประเทศ และแสดงถึงสถานที่ที่มีในประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

16. วิสัยทัศน

สร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ  ทั้งในประเทศและนานาชาติ เพื่อทำให้เกิดการ

เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

17. พันธกิจ
                ศูนย์การเรียนรู้เมืองจำลองพาทัวร์เน้นการท่องเที่ยวให้ผู้เข้าชมเกิดความสนใจในแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย และยังมีสถานที่สำคัญๆ ต่าง ๆ อีกมากมาย

18. คำขวัญของหน่วยงาน 
            “ความฝันคือการท่องเที่ยว ถ้าคุณจะเที่ยวคิดถึงเมืองจำลอง” 

19. สัญลักษณ์ของหน่วยงาน
      


20. โครงสร้างเว็บไซต์ของหน่วยงาน



           
21. แหล่งที่อยู่บนเว็บไซต์ของศูนย์ฯ


22. แผนการดำเนินโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินโครงการ
กิจกรรมการดำเนินงาน
23-26 ธ.ค.56
2-5
ม.ค.57
8-12
ม.ค.57
14-18
ม.ค.57
23-26
ม.ค.
28-1
ก.พ.
13-16
ก.พ.
1. ศึกษาสภาพความต้องการและปัญหา







2. เขียนโครงการขออนุมัติ







3. ดำเนินการเก็บข้อมูล ณ สถานที่จริง







4. ออกแบบศูนย์ฯและวางแผนงาน







5. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ฯ







6. ประชาสัมพันธ์เปิดตัวศูนย์ฯ







7. รายงานสรุปประเมินผลศูนย์ฯ








23. แบบฟอร์มการใช้บริการ
แบบฟอร์มการขอใช้บริการงานผลิตสื่อโสตทัศน์
งาน..........................................................
 
เขียนที่................................
                                                                                                         วันที่.........................................
ชื่อ-สกุล……………………………………….. ตำแหน่ง....................................................
สังกัด โปรแกรมวิชา/สำนัก/ฝ่าย.........................................................................................................
โทรศัพท์ติดต่อ.....................................................
                มีความประสงค์ขอใช้บริการ ดังนี้

    (  ) หนังสือความรู้เกี่ยวกับอาเซียน  จำนวน..........................เล่ม
                เรื่อง..............................................................................................................................
                 ....................................................................................................................................
    (  ) CD/DVD จำนวน………………ม้วน
                เรื่อง..............................................................................................................................
                 ...................................................................................................................................
   (   )  อื่นๆ (โปรดระบุ) ………………………………………………………………..............

 
          

 เพื่อใช้งาน/วิชา................................................................................................................
 กำหนดรับงานวันที่..............................................เวลา.................................................
                          
                                                                                                 ผู้ขอใช้บริการ
                                                                                                 
                                                                                           ...............................................

ผู้รับของ ..........................................................
ผู้ให้บริการ ......................................................

 
                                                             (.......................................................)



24. แบบฟอร์มการใช้บริการ
แบบฟอร์มการขอรับการฝึกอบรมและภาษา
เขียนที่................................
                                                                                                         วันที่.........................................
ชื่อ-สกุล……………………………………….. ตำแหน่ง....................................................
สังกัด โปรแกรมวิชา/สำนัก/ฝ่าย.........................................................................................................
จำนวนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมและเรียนภาษา……………………………………………………………
โทรศัพท์ติดต่อ.....................................................
                มีความประสงค์ ดังนี้

    (  ) รับการฝึกอบรม 
                เรื่อง..............................................................................................................................
                วันที่……………………………เวลา…..................................
    (  ) เรียนภาษา………………………………………………………………………………….               
                ( ) วันจันทร์ ( ) วันอังคาร ( ) วันพุธ  ( ) วันพฤหัสบดี  ( ) วันศุกร์ ( ) วันเสาร์ ( ) วันอาทิตย์
       เวลา   ( ) 9.00 – 11.00      ( ) 13.00 – 15.00
    (   )  อื่นๆ (โปรดระบุ) …………………………………………………………………………
 

       
                                                                                                 ผู้ขอใช้บริการ
                                                                                                 
                                                                                           ...............................................

ผู้รับของ ..........................................................
ผู้ให้บริการ ......................................................

 
                                                             (......................................................)


24. ผู้เขียนโครงการ 
(ลงชื่อ).............................................................ผู้เขียนโครงการ
       (....................................................)
 ตำแหน่ง   ........................................................
25.  ผู้เสนอโครงการ
(ลงชื่อ).............................................................ผู้เสนอโครงการ
         (..............................................)
 ตำแหน่ง    .................................................
26.  ผู้เห็นชอบโครงการ
(ลงชื่อ).............................................................ผู้เห็นชอบโครงการ
         (..................................................)
 ตำแหน่ง   .......................................................